วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วิธีการวัดคุณธรรม จริยธรรม

วิธีการวัดและประเมินคุณธรรม จริยธรรม

คุณธรรม จริยธรรม เป็นคุณลักษณะด้านเจตพิสัย การวัดและประเมินคุณธรรม จริยธรรม จึงมีวิธีการเช่นเดียวกับการวัดและประเมินด้านเจตพิสัย ภัทรา นิคมานนท์ (2538: 151) กล่าวว่า การวัดด้านเจตพิสัย มีวิธีการวัดได้ 2 แบบ คือ
1) แบบประเมินตนเอง
2) แบบประเมินโดยผู้อื่น
ณัฎฐภรณ์ หลาวทอง (2546: 199) แบ่งวิธีการวัดด้านเจตพิสัยออกได้ 5 วิธี ดังนี้
1) การรายงานตนเอง (Self-report)
2) การสังเกตพฤติกรรม (Observation)
3) การสังเกตร่องรอยของพฤติกรรม(Obtrusive)
4) การสัมภาษณ์(Interview)
5) เทคนิคการจินตนาการ(Projective Techniques)
สมบูรณ์ ชิตพงศ์ (2552: 4-8) กล่าวว่า ข้อมูลคุณลักษณะด้านเจตพิสัยของบุคคลจะได้มาจาก 3 แหล่ง คือ
1) จากตัวบุคคลผู้นั้นเองโดยการไปสอบถามเจ้าตัวโดยตรง
2) จากบุคคลใกล้ชิด
3) จากการไปดูเอง โดยการไปสังเกตบุคคลผู้นั้นโดยตรง

ธรรมชาติของการวัดด้านเจตพิสัย

คุณธรรม จริยธรรม เป็นคุณลักษณะด้านเจตพิสัย เป็นคุณลักษณะทางด้านจิตใจ อารมณ์หรือความรู้สึกของบุคคล การวัดและประเมินคุณธรรม จริยธรรม จึงมีวิธีการวัดและประเมิน เช่นเดียวกับการวัดด้านเจตพิสัย ซึ่งมีธรรมชาติของการวัดและประเมิน ดังนี้
1) เป็นการวัดทางอ้อม ไม่สามารถวัดได้โดยตรงจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 จำเป็นต้องวัดทางอ้อม โดยอาศัยการสังเกตพฤติกรรมทางกาย และวาจา ที่เราคาดว่าเป็นผลสะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์ความรู้สึก
2) มีคุณลักษณะเป็นนามธรรม ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง เช่น ความคิด
สร้างสรรค์ ความรับผิดชอบ ความสนใจ ทำให้เกิดความลำบากในการอธิบายในแง่ของปริมาณและคุณภาพ จึงต้องมีการพัฒนาเทคนิควิธีในการวัดผลและประเมินผล
3) การวัดด้านเจตพิสัยมีความคลาดเคลื่อนได้ง่าย เนื่องจากอารมณ์หรือความรู้สึก
อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ เงื่อนไข วุฒิภาวะ และประสบการณ์ของผู้ที่ถูกวัด การวัดด้านเจตพิสัยจึงต้องการเครื่องมือที่มีความเชื่อมั่นสูง
4) การวัดด้านเจตพิสัยไม่มีถูก-ผิด เหมือนข้อสอบด้านพุทธิพิสัย คำตอบของผู้ที่
ถูกวัดเพียงแต่บอกให้ทราบว่าถ้าผู้ถูกวัดได้ประสบกับเหตุการณ์ หรือสถานการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดตามที่กำหนดให้ เขาจะตัดสินใจเลือกกระทำอย่างไร
5) แหล่งข้อมูลในการวัดด้านเจตพิสัยสามารถวัดได้จากหลายฝ่าย ได้แก่ จาก
บุคคลที่เราต้องการวัด จากบุคคลผู้ใกล้ชิด และจากการสังเกตของผู้วัดเอง
6) การวัดด้านเจตพิสัยต้องใช้สถานการณ์จำลองเป็นเงื่อนไขให้ผู้ถูกวัดตอบ
ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะทำให้แบบวัดมีผลการวัดตรงกับพฤติกรรมที่แสดงออกในสภาพที่เป็นปกติของบุคคลนั้น ฉะนั้นแบบวัดเจตพิสัยจึงต้องการคุณลักษณะด้านความตรงตามสภาพ
7) แบบวัดด้านเจตพิสัย มีจุดอ่อนที่ผู้ตอบสามารถบิดเบือน หรือหลอกผู้ถามได้
โดยผู้ตอบมักตอบในลักษณะให้ดูเหมือนตนเองมีคุณลักษณะที่ดีในสายตาของผู้วัด ทำให้ได้ผลการวัดที่ไม่เที่ยงตรง
8) พฤติกรรมการแสดงออกของคุณลักษณะด้านเจตพิสัย มีทิศทางการแสดงออก
ได้สองทาง ในทางตรงกันข้าม เช่น รัก-เกลียด ชอบ-ไม่ชอบ ขยัน-เกรียจคร้าน ฯลฯ และมีความเข้มของระดับความรู้สึก เช่น สนใจมากที่สุด ค่อนข้างสนใจ เฉย ๆ ไม่ใคร่สนใจ ไม่สนใจเลย หรือชอบมาก-ชอบน้อย หรือไม่ชอบเลย (ภัทรา นิคมานนท์ 2538: 151)

เครื่องมือวัดด้านเจตพิสัย

เครื่องมือวัดด้านเจตพิสัย

เครื่องมือวัดด้านเจตพิสัยมีหลายประเภทที่แตกต่างกัน บอกได้ยากว่าเครื่องมือชนิดใดดีกว่ากัน เพราะความเหมาะสมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ
ณัฎฐภรณ์ หลาวทอง (2546: 201) กล่าวว่าจากการศึกษาวิจัยคุณลักษณะด้านเจตพิสัยที่ผ่านมา การใช้มาตรวัด เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีความเป็นปรนัยสูง สามารถวัดได้กับคนจำนวนมากในเวลาอันสั้น และใช้งบประมาณน้อยกว่าวิธีอื่น ๆ สำหรับขั้นตอนของการพัฒนามาตรวัดด้านเจตพิสัยซึ่งเสนอโดย Devellis(1991) มี ข้อเสนอแนะ 8 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 กำหนดให้แน่ชัดว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องการวัด ให้มีความชัดเจนในเชิงทฤษฎี และลักษณะที่เฉพาะเจาะจงของโครงสร้างสิ่งที่จะวัดไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป
ขั้นที่ 2 สร้างข้อคำถาม โดยเลือกข้อคำถามที่สะท้อนถึงจุดมุ่งหมายในการวัด ข้อคำถามที่สร้างให้มีลักษณะเท่าเทียมกันหรือคู่ขนานกัน จำนวนข้อคำถามควรมีจำนวนมากเป็น 3 หรือ 4 เท่าของสุดท้ายที่ต้องการ แล้วแยกข้อคำถามที่มีลักษณะที่ดีออกจากข้อคำถามที่มีลักษณะที่ไม่ดี โดยพิจารณาจากความกำกวมของข้อคำถาม การที่ข้อความยาวเกินไป อ่านแล้วเข้าใจยาก หรือมีหลายแนวคิดอยู่ในข้อเดียว ไม่เป็นข้อความที่เป็นข้อเท็จจริงอยู่แล้ว และข้อความในข้อคำถามไม่ควรเป็นบวกหรือลบมากเกินไป
ขั้นที่ 3 กำหนดรูปแบบสำหรับการวัด ว่าจะมีลักษณะของมาตรวัดเป็นเช่นไร อาทิ มาตรวัดแบบเทอร์สโตน , มาตรวัดแบบกัทแมน , มาตรวัดแบบออสกูด หรือมาตรวัดแบบลิเคิร์ต จำนวนช่วงของการวัดจะเป็นเท่าไร มีรูปแบบการตอบลักษณะแบบสองทางหรือแบบทางเดียว พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาในการตอบให้ชัดเจน
ขั้นที่ 4 ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาข้อคำถามที่สร้างขึ้นในรอบแรก โดยที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบการให้นิยามปรากฏการณ์ของสิ่งที่จะวัดว่ามีความสัมพันธ์กับข้อคำถามที่สร้างขึ้นหรือไม่อย่างไร แล้วประเมินความชัดเจนและความถูกต้องของข้อคำถามในเชิงเนื้อหาการใช้คำ รวมถึงโครงสร้างในการวัด ผู้เชี่ยวชาญจะบอกได้ว่าขาดประเด็นใด และประเด็นใดควรจะเพิ่มเข้ามา และท้ายสุดผู้สร้างมาตรต้องสรุปความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด แล้วตัดสินใจว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธคำแนะนำใดบ้าง ซึ่งในขั้นตอนนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้สร้างมาตรวัด
ขั้นที่ 5 พิจารณาเลือกข้อคำถามที่มีความตรง ถ้าเป็นไปได้ควรเพิ่มเติมข้อคำถามที่คล้ายคลึงกันหรือคู่ขนานกัน เพื่อช่วยในการตรวจสอบความตรงของมาตรวัด และมีความเป็นไปได้ที่ผู้ตอบจะตอบตามความต้องการของสังคม(Social desirability) นอกจากนั้นควรตรวจสอบถึงความลำเอียงในการตอบ ก็จะช่วยให้ได้มาตรวัดที่มีความตรงอย่างสมบูรณ์
ขั้นที่ 6 นำมาตรวัดไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่มากพอ ซึ่งประเด็นนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอน ตามหลักเหตุผลแล้วกลุ่มตัวอย่างควรมีขนาดใหญ่ Nunnally(1978) กล่าวว่าจำนวนของกลุ่มตัวอย่างมีความเกี่ยวข้องกับจำนวนข้อคำถาม โดยเสนอว่า กลุ่มตัวอย่างควรมีจำนวน 300 คน จึงถือว่าเพียงพอ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องความแปรปรวนร่วมระหว่างข้อที่อาจไม่คงที่ และความไม่เป็นตัวแทนของประชากรที่ตั้งใจจะใช้
ขั้นที่ 7 การประเมินข้อคำถาม โดยการทดสอบข้อคำถามที่สร้างขึ้นว่ามีความสัมพันธ์กับคะแนนจริงหรือตัวแปรแฝงที่ต้องการวัดหรือไม่ โดยพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างข้อ(inter-correlation) หากมีค่าสูง แสดงว่ามีตัวแปรแฝงร่วมกัน หากค่าความสัมพันธ์เป็นลบควรพิจารณาว่าได้มีการกลับขั้วการให้คะแนนหรือไม่ เมื่อพบว่ายังไม่ได้กลับขั้วการให้คะแนนก็กลับคะแนนให้เรียบร้อย แล้วจึงหาความสัมพันธ์อีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นหาความสัมพันธ์รายข้อกับคะแนนรวมของมาตรวัด(Item-scale correlation)
การตรวจสอบความแปรปรวนรายข้อ หากข้อคำถามมีความแปรปรวนสูงแสดงว่ากลุ่มผู้ตอบมีความหลากหลายในการตอบ การคำนวณค่าเฉลี่ยของข้อคำถามเพื่อหาจุดกึ่งกลางของพิสัยการตอบ ตรวจสอบความเที่ยงของมาตรวัด โดยเฉพาะสัมประสิทธิ์แอลฟา ซึ่งจะบ่งชี้สัดส่วนของความแปรปรวนในคะแนนของมาตรวัด หรือการหาค่าความเที่ยงอื่น ๆ ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง -1 ถึง 1 Nunnally(1978) เสนอว่าค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา 0.70 ขึ้นไปจึงจะสามารถยอมรับได้
ขั้นที่ 8 กำหนดความยาวที่เหมาะสมของมาตรวัด เนื่องจากความยาวของมาตรวัดมีผลต่อความเที่ยง ทำให้มีความแปรปรวนร่วมระหว่างข้อคำถามสูง ดังนั้นการเพิ่มจำนวนข้อเข้าไปทำให้มีความเที่ยงสูงขึ้น แต่ถ้ามาตรวัดมีขนาดยาว ก็จะทำให้ผู้ตอบเกิดความเบื่อหน่าย ดังนั้นผู้สร้างมาตรวัดควรจะพิจารณาถึงความยาวที่เหมาะสมด้วย หากต้องคัดข้อคำถามออกควรพิจารณาข้อคำถามที่มีความสัมพันธ์ต่ำกับข้อคำถามอื่น ๆ เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.ไม่ควรให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
2.ไม่บิดเบือนความถูกต้องของข้อมูล ให้ผู้รับคนต่อไปได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
3.ไม่ควรเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
4.ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลกับผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต
5.ไม่ทำลายข้อมูล
6.ไม่เข้าควบคุมระบบบางส่วน หรือทั้งหมดโดยไม่ได้รับอนุญาต
7.ไม่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจว่าตัวเองเป็นอีกบุคคลห นึ่ง ตัวอย่างเช่น การปลอมอีเมล์ของผู้ส่งเพื่อให้ผู้รับเข้าใจผิด เพื่อการเข้าใจผิด หรือ ต้องการล้วงความลับ
8.การขัดขวางการให้บริการของเซิร์ฟเวอร์ โดยการทำให้มีการใช้ทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์จนหมด หรือถึงขีดจำกัดของมัน ตัวอย่างเช่น เว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือ อีเมล์เซิร์ฟเวอร์ การโจมตีจะทำโดยการเปิดการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์จน ถึงขีดจำกัดของเซิร์ฟเวอร์ ทำให้ผู้ใช้คนอื่นๆไม่สามารถเข้ามาใช้บริการได้
9.ไม่ปล่อย หรือ สร้างโปรแกรมประสงค์ร้าย (Malicious Program) ซึ่งเรียกย่อๆว่า (Malware) เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำการ ก่อกวน ทำลาย หรือทำความเสียหายระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย โปรแกรมประสงค์ร้ายที่แพร่หลายในปัจจุบันคือ ไวรัส เวิร์ม และม้าโทรจัน
10.ไม่ก่อความรำคาญให้กับผู้อื่น โดยวิธีการต่างๆ เช่น สแปม (Spam) (การส่งอีเมลไปยังผู้ใช้จำนวนมาก โดยมีจุดประสงค์เพื่อการโฆษณา)
11.ไม่ผลิตหรือใช้สปายแวร์ (Spyware) โดยสปายแวร์จะใช้ช่องทางการเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ต เพื่อแอบส่งข้อมูลส่วนตัวของผู้นั้นไปให้กับบุคคลหรื อองค์กรหนึ่งโดยที่ผู้ใช้ไม่ทราบ
12.ไม่สร้างหรือใช้ไวรัส
(สืบค้นข้อมูลจาก http://www.thai3dviz.com/board/blog.php?bt=74 วันที่ 6 พฤษภาคม 2553)

การวัดด้านเจตพิสัย

ภัทรา นิคมานนท์ (2538: 151) ให้แนวคิดเกี่ยวกับการวัดด้านเจตคติว่าเป็นการวัดพฤติกรรมเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิดทางจิตใจ อารมณ์และคุณธรรมของบุคคล พฤติกรรมการเรียนรู้ด้านเจตพิสัยสามารถจำแนกได้ 5 ระดับ คือ 1) การรับรู้ 2) การตอบสนอง 3) การสร้างคุณค่า 4) การจัดระบบคุณค่า และ 5) การสร้างลักษณะนิสัย
คุณลักษณะทางด้านเจตพิสัย เป็นคุณลักษณะทางด้านจิตใจของบุคคลที่บ่งชี้รูปแบบของอารมณ์หรือความรู้สึก ผู้วัดควรเข้าใจธรรมชาติของการวัดด้านเจตพิสัย ดังนี้
1. การวัดด้านเจตพิสัย เป็นการวัดทางอ้อม ไม่สามารถวัดได้โดยตรงจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 จำเป็นต้องวัดทางอ้อม โดยอาศัยการสังเกตพฤติกรรมทางกายและวาจาที่เราคาดว่าเป็นผลสะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์และความรู้สึก
2. คุณลักษณะด้านเจตพิสัยมีลักษณะเป็นนามธรรม ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง เช่น ความคิดสร้างสรรค์ ความรับผิดชอบ ความสนใจ ทำให้เกิดความลำบากในการอธิบายในแง่ของปริมาณและคุณภาพ จึงต้องมีการพัฒนาเทคนิควิธีในการวัดผลและประเมินผล
3. การวัดด้านเจตพิสัยมีความคลาดเคลื่อนได้ง่าย เนื่องจากอารมณ์หรือความรู้สึกอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ เงื่อนไข วุฒิภาวะ และประสบการณ์ของผู้ที่ถูกวัด การวัดด้านเจตพิสัยจึงต้องการเครื่องมือที่มีความเชื่อมั่นสูง
4. การวัดด้านเจตพิสัยไม่มีถูก-ผิด เหมือนข้อสอบด้านพุทธิพิสัย คำตอบของผู้ที่ถูกวัดเพียงแต่บอกให้ทราบว่าถ้าผู้ถูกวัดได้ประสบกับเหตุการณ์ หรือสถานการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดตามที่กำหนดให้ เขาจะตัดสินใจเลือกกระทำอย่างไร สิ่งที่เขาเลือกกระทำจะเป็นเพียงตัวแทนของความคิดความเชื่อในสิ่งที่คิดว่าเขาพร้อมที่จะประพฤติปฏิบัติเท่านั้น
5. แหล่งข้อมูลในการวัดด้านเจตพิสัยสามารถวัดได้จากหลายฝ่าย ได้แก่ จากบุคคลที่เราต้องการวัด จากบุคคลผู้ใกล้ชิด และจากการสังเกตของผู้วัดเอง ซึ่งพฤติกรรมแสดงออกของบุคคลนั้นอาจไม่ใช่คุณลักษณะที่แท้จริงของเขาก็ได้ การแสดงพฤติกรรมของเขาอาจมีสาเหตุเบื้องหลังแอบแฝงอยู่ อาจทำเพื่อหวังผลประโยชน์ข้างเดียว เช่น ขยันเข้าห้องสมุดเพื่อเอาใจอาจารย์สอนวิชาบรรณารักษ์ ทั้งๆ ที่ไม่ชอบการค้นคว้าเลย ไปห้างสรรพสินค้าบ่อย ๆ เพราะต้องไปช่วยถือของให้คุณแม่ ทั้ง ๆ ที่ไม่ชอบการเดินดูสินค้า เป็นต้น
6. การวัดด้านเจตพิสัยต้องใช้สถานการณ์จำลองเป็นเงื่อนไขให้ผู้ถูกวัดตอบ ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะทำให้แบบทดสอบหรือแบบวัดด้านเจตพิสัยมีผลการวัดตรงกับพฤติกรรมที่แสดงออกในสถานการณ์ที่เป็นจริงในสภาพที่เป็นปกติของบุคคลนั้น ฉะนั้นแบบทดสอบหรือแบบวัดเจตพิสัยจึงต้องการคุณลักษณะด้านความตรงตามสภาพ
7. การวัดด้านเจตพิสัย มีวิธีการวัดได้ 2 แบบ ได้แก่ แบบประเมินตนเอง โดยให้ผู้ที่ถูกวัดตอบแบบวัดประเภทต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือวัดด้วยตนเอง โดยการสำรวจตนเองว่ามีความรู้สึกอย่างไรตามหัวข้อคำถามนั้น ๆ และแบบประเมินโดยผู้อื่น ซึ่งเป็นการวัดโดยผู้ประเมินเป็นผู้วัดเอง หรืออาจมอบหมายหรือกำหนดให้เพื่อนนักเรียน ผู้ปกครอง หรือเพื่อนครู ฯลฯ เป็นผู้ใช้เครื่องมือวัด
8. พฤติกรรมการแสดงออกของคุณลักษณะด้านเจตพิสัย มีทิศทางการแสดงออกได้สองทาง ในทางตรงกันข้าม เช่น รัก-เกลียด ชอบ-ไม่ชอบ ขยัน-เกรียจคร้าน ฯลฯ และมีความเข้มของระดับความรู้สึก เช่น สนใจมากที่สุด ค่อนข้างสนใจ เฉย ๆ ไม่ใคร่สนใจ ไม่สนใจเลย หรือชอบมาก-ชอบน้อย หรือไม่ชอบเลย

วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ

คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ

คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ เป็นนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อพัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมนำความรู้ รองรับนโยบายรัฐบาลในปีงบประมาณ 2550-2551 โดยกำหนดยุทธศาสตร์หลัก คือ 1) ปลูกจิตสำนึก สร้างเจตคติ ปรับพฤติกรรม 2) ปรับกระบวนการเรียนรู้หาต้นแบบสืบทอด 3) สร้างภูมิต้านทานโดยเครือข่ายขยายผล บ้าน สถาบันการศึกษา สถานศึกษา ชุมชน สื่อ 4) กำกับ ติดตาม และประเมินผล (สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา 2551: 1) ความหมาย คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม และตัวชี้วัด/ตัวบ่งชี้คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ มีรายละเอียด ดังนี้

1. ความหมายและคุณลักษณะเชิงพฤติกรรม

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (2550: 2 ) ให้ความหมายและคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมของคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งประกอบด้วย ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี มีน้ำใจ มีรายละเอียด ดังนี้

1.1 ขยัน หมายถึง ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่อง
สม่ำเสมอ อดทน ไม่ท้อถอยเมื่อพบอุปสรรค ความขยันต้องปฏิบัติควบคู่กับการใช้สติปัญญาแก้ปัญหา จนเกิดผลงานสำเร็จตามความมุ่งหมาย
คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม ผู้ที่มีความขยัน คือ ผู้ที่ตั้งใจทำงานอย่างจริงจังต่อเนื่อง
ในเรื่องที่ถูก ที่ควร ผู้ที่เป็นคนสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง
1.2 ประหยัด หมายถึง การรู้จักเก็บออมถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของแต่พอควร
พอประมาณให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ
คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม ผู้ที่มีความประหยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ที่
เรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อ เก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของอย่างคุ้มค่า รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนเองอยู่เสมอ
1.3 ซื่อสัตย์ หมายถึง ประพฤติตรง ไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความ
จริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลำเอียงหรืออคติ
คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรงทั้งต่อ
หน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา ไม่ใช้เล่ห์กลคดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเอง และปฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้อง
1.4 มีวินัย หมายถึง การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับและข้อปฏิบัติ ซึ่ง
มีทั้งวินัยในตนเอง และวินัยต่อสังคม
คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม ผู้ที่มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎ ระเบียบของ
สถานศึกษา/สถาบัน/องค์กร/สังคมและประเทศ โดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ เช่น การแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบ เข้าแถวรับบริการตามลำดับ
1.5 สุภาพ หมายถึง เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม มีกิริยามารยาทที่ดีงาม
มีสัมมาคารวะ
คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม ผู้ที่มีความสุภาพ คือ ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนตาม
สถานภาพและกาลเทศะ ไม่ก้าวร้าว รุนแรง วางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจา และท่าทาง แต่ในเวลาเดียวกันยังคงมีความมั่นใจในตนเอง เป็นผู้ที่มีมารยาท วางตนเหมาะสม ตามวัฒนธรรมไทย
1.6 สะอาด หมายถึง ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม
ความผ่องใส เป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น
คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม ผู้ที่มีความสะอาด คือ ผู้ที่รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย
สิ่งแวดล้อมถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว จึงมีความแจ่มใสอยู่เสมอ
1.7 สามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพรียงกัน ความกลมเกลียวกัน ความปรองดอง
กัน ร่วมใจกันปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามที่ต้องการ เกิดงานการอย่างสร้างสรรค์ ปราศจากการทะเลาะวิวาท ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นการยอมรับความมีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ความหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ ความกลมเกลียวกันในลักษณะเช่นนี้เรียกอีกอย่างว่า ความสมานฉันท์
คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม ผู้ที่มีความสามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้าง ยอมรับฟังความ
คิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตน ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน เพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง แก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ
1.8 มีน้ำใจ หมายถึง ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง แต่
เห็นอกเห็นใจ เห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์ มีความเอื้ออาทร เอาใจใส่ ให้ความสนใจในความต้องการ ความจำเป็น ความทุกข์สุขของผู้อื่น และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน
คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม ผู้ที่มีน้ำใจ คือ ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่น เข้าใจ เห็นใจ ผู้ที่มีความเดือดร้อน อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกาย สติปัญญา ลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหา หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน